วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ปรุงอาหารด้วยใบหม่อน


แกงไก่ใบหม่อน

เครื่องปรุง      
- ใบหม่อนอ่อน เป็นตัวชูโรง
- เนื้อไก่หั่นเป็นชิ้นๆ
- ผักชนิดอื่นๆ เช่น บวบ เห็ดฟาง หรือเห็ดนางฟ้า ต้นหอม ผักหวานบ้าน และใบแมงลัก
- น้ำ
- น้ำปลา
- เกลือ
เครื่องแกง ตำน้ำพริกแห้งกับตะไคร้ให้แหลก (ดีกรีความเผ็ดตามชอบ)
วิธีปรุง
1. เมื่อเตรียมเครื่องปรุงต่างๆ เสร็จแล้ว นำเนื้อไก่ลงไปรวนกับเครื่องแกงในหม้อ ใส่เกลือเล็กน้อย
2. ใส่น้ำและน้ำปลาตามลงไป
3. พอไก่เริ่มสุกโชยกลิ่นหอมเครื่องแกงแล้ว ให้เติมน้ำลงไปกะให้พอท่วมเนื้อไก่เล็กน้อย เปิดไฟแรงขึ้นจนกระทั่งน้ำเดือด
4. ใส่เห็ดลงไป พอเห็ดเริ่มสุกก็ตามด้วยบวบ คนเล็กน้อยแล้วรอให้น้ำเดือดอีกรอบ
5. แล้วก็ถึงเวลาใส่ใบหม่อน ผักหวาน และต้นหอม ชิมรสชาติเอาให้แซบนัวที่สุด
6. จากนั้นปิดไฟ แล้วใส่ใบแมงลักเพิ่มความหอมกรุ่นน่ารับประทาน พร้อมตักเสิร์ฟได้เลย

วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

“น้ำหม่อน” เครื่องดื่มสมุนไพร


"ผลหม่อน" หรือ "ลูกหม่อน" ผลไม้ขนาดจิ๋ว แต่คุณภาพแจ่มแจ๋ว มีแววว่าเริ่มโด่งดังมากยิ่งขึ้นในอนาคต นางวีณา พงศ์พัฒนานนท์ อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า กรมหม่อนไหม มีการค้นคว้าวิจัย ประโยชน์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผลหม่อนมาอย่างต่อเนื่องยาวนานมากกว่า 20 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 ทำให้ผลิตภัณฑ์จาก ผลหม่อน เริ่มเป็นที่รู้จักของนักบริโภคอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ อีกทั้งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กระแสผลไม้กลุ่มเบอร์รี่เป็นที่นิยมของคนไทยทุกเพศ ทุกวัย จึงทำให้ ผลหม่อนซึ่งเป็นเบอร์รี่ชนิดหนึ่งนามว่า "มัลเบอร์รี่" จึงมีที่ยืนในตลาดเคียงบ่าเคียงไหล่กับเบอร์รี่นำเข้าจากต่างประเทศ เช่น บลูเบอร์รี่ ราสพ์เบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่ เป็นต้น จนในปีนี้ น้ำหม่อน หรือน้ำ มัลเบอร์รี่ (mulberry juice)ของไทย ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และชาวไทย หันมาบริโภคเครื่องดื่มจากลูกหม่อนกันอย่างมาก ด้วยติดใจในรสชาติ และทราบ
สรรพคุณและการได้มาซึ่งวัตถุดิบที่ไร้สารเคมีอันตรายในการผลิต


ต้นหม่อน เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่เช่นเดียวกับต้นโพธิ์ ต้นขนุน ฯลฯ ซึ่งเป็นพืชอยู่ในวงศ์ มอราซิอี้( Moraceae) เช่นเดียวกัน เราทราบกันดีว่าชาวอีสานนำใบหม่อนมาเลี้ยงตัวหนอนไหม เมื่อหนอนไหมโตเต็มที่ก็จะชักใยหุ้มตัวเองเป็นรังไหม ก่อนจะนำรังไหมมาต้ม เพื่อดึงเส้นใยที่เรียกว่าเส้นไหมออก นำไปทอเป็นผืนผ้า อาภรณ์ราคาแพง
ต่อมามีการนำต้นหม่อนพันธุ์ที่มีผลดกมาปลูกเป็นไม้ผลริมรั้วในภาคเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน ซึ่งน่าจะเป็นชาวเขาที่อพยพมาจากจีนตอนใต้ ที่นำต้นหม่อนพันธุ์นี้มาด้วย บางกระแสก็บอกว่ามิชชันนารีที่มาเผยแพร่ศาสนาคริสต์แก่ชาวไทยภูเขา นำหม่อนพันธุ์นี้มาให้ด้วย ต่อมาสถาบันหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ (กรมหม่อนไหม ในปัจจุบัน) ได้เสนอเป็นพันธุ์แนะนำจากกรมวิชาการเกษตรได้ชื่อว่า " หม่อนผลสดพันธุ์เชียงใหม่" เมื่อ พ.ศ. 2549 แต่แท้ที่จริงแล้ว เราไม่ค่อยได้รับประทานผลสดเหมือนชื่อหรอก เพราะเป็นผลไม้ที่ผิวบอบบาง เน่าเสียง่าย ส่วนใหญ่จึงนำไปแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ ไวน์ แยม ฯลฯ แล้วทำไมจึงได้ชื่อว่า "หม่อนผลสด" เดิมเราเรียกว่า "หม่อนรับประทานผลสด" หรือ "หม่อนกินลูก" แต่สุภาพสตรีที่ตั้งครรภ์ไม่กล้ารับประทาน เพราะชื่อมันน่ากลัว เขากลัวว่าจะไปกินลูกในท้อง เกิดแท้งขึ้นมาใครจะรับผิดชอบ ผมและคณะผู้ร่วมวิจัยจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "หม่อนผลสด" และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน




หม่อนผลสดพันธุ์ เชียงใหม่ เป็นพันธุ์ที่ผ่านการทดสอบเปรียบเทียบกับหม่อนพันธุ์อื่นอีกหลายพันธุ์ ที่มีผลขนาดใหญ่ใกล้เคียงกัน พบว่ามีผลดกกว่าพันธุ์อื่นๆ ให้ผลผลิตสูงประมาณ 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี หลังการปลูกไปแล้ว 3 ปี อย่างไรก็ดีมีพันธุ์หม่อนผลสดอีกหลายพันธุ์ที่ท่านอาจรู้จัก เช่น พันธุ์กำแพงแสน 42 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน และพันธุ์ที่ภาคเอกชนนำเข้ามาจากต่างประเทศบ้าง   
ในปี 2556 เราสำรวจพบว่ามีเกษตรกรปลูกหม่อนผลสดทั่วประเทศ 929 ราย ในพื้นที่ปลูก 979 ไร่ ทั้งที่ให้ผลผลิตแล้ว และยังไม่ให้ผลผลิต 

มีการแปรรูปผลหม่อนเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย อาทิน้ำผลไม้ ไวน์ แยม ผลหม่อนอบ แห้ง เป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่มอีกหลายชนิด เช่น เบเกอรี่ ไอศกรีม เป็นต้น มีภาคเอกชนผลิตเชิงพาณิชย์แล้วหลายบริษัท
บริโภคแล้วจะได้อะไร ได้มีการวิจัยถึงประโยชน์ของผลหม่อน อีกทั้งในต่างประเทศก็มีกันอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันนี้พบว่า ผลหม่อน หรือ มัลเบอร์รี่ เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ทั้งกลุ่มแอนโทไซยานิดิน โพลีฟีนอล ทั้งเควอซิติน และรูติน อีกทั้งยังมีกรด โฟลิกหรือโฟเลทที่ช่วยบำรุงเซลล์ประสาท ลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคความจำเสื่อม ลดการตายของเซลล์ประสาทจากพิษสุราเรื้อรัง อีกทั้งยังช่วยบำรุงสายตา ลดความเสี่ยงการเกิดโรคต้อกระจกตา จากภาวะโรคเบาหวาน



สนใจสั่งติดต่อสั่งซื้อได้ที่ ครูซี 083-613-4359 , (Line) :cz689

Facebook :www.facebook.com/ickonviset